คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ
บล็อคเกอร์นี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนรายวิชา อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเผยแพร่บทความทางธรรมที่มีผู้เขียนขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและให้กำลังใจสำหรับผู้ที่กำลังท้อถอยในชีวิต




วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีจัดการกับความเครียด



                                                            

การจะจัดการกับความเครียดท่านต้องหาว่าความเครียดเกิดจากสาเหตุใดและร่างกายเราตอบสนองต่อความเครียดนั้นอย่างไร ขั้นตอนต่อมาต้องเรียนรู้วิธีการจัดการเกี่ยวกับความเครียดซึ่งมีวิธีดังนี้
  1. ค้นหาปัญหาที่ทำให้เกิดความเครียด เป็นข้อที่สำคัญที่สุดหากไม่ทราบสาเหตุก็ไม่สามารถป้องกันได้ บางท่านอาจจะไม่ทราบว่าเครียดจากอะไร ท่านผู้อ่านลองสำรวจตัวเองสิว่าชีวิตประจำวันของท่านมีอะไรบ้างที่ท่านเบื่อ เช่นการพูดคุยกับภรรยา การอาบน้ำลูก รถติด งานเร่ง งานน่าเบื่อ งานมาก บทบาทไม่ชัดเจนฯลฯ ท่านลองสำรวจอาการของท่านเมื่อพบสิ่งที่ไม่ชอบหรือน่าเบื่อ เช่นโกรธ เบื่อ ท้อแท้ ปวดศีรษะ เหล่านี้คือเหตุที่ให้เกิดความเครียด ปัจจัยใดที่ทำให้ท่าเครียดที่สุด ภาวะใดที่ท่านกลัวมาก ท่านอาจจะจดลงในสมุดบันทึกเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด อาการที่แสดงออก หลังจากที่ทราบสาเหตุแล้วก็ลองแก้ไข หากบางสิ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ให้หลีกเลี่ยงเช่นบางท่านไม่ชอบการเมืองก็ไม่ต้องดูข่าวหรือพูดคุยเกี่ยวกับการเมือง
  2. การป้องกัน
  3. แก้ไข
  4. ยอมรับความจริง
  5. หลีกเลี่ยง
  6. การปรับเปลี่ยน
  7. เรียนรู้วิธีผ่อนคลาย
  8. มีความเชื่อมั่นในตัวเอง
  9. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  10. รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ
  11. ผักผ่อนอย่างเพียงพอ
การป้องกัน
หลังจากทราบสาเหตุแล้วการป้องกันความเครียดจะเป็นวิธีที่ไม่ให้เกิดความเครียดซึ่งมีวิธีการต่างๆดังนี้ การเตรียมตัวเพื่อรับความเครียดสามารถทำได้ดังนี้
  1. การวางแผน เมื่อเกิดปัญหาหรือความเครียดพยายามตั้งสติและใช้ปัญญาหาทางแก้ไข
  • เมื่อมีปัญหาพยายามหาทางเลือกหลายๆทาง และเลือกทางแก้ที่ดีที่สุด
  • ขณะทำงานก็วางแผนอนาคตไปด้วย ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้และท้าทายการตั้งเป้าหมายเกินความสามารถเล็กน้อยจะเป็นการท้าทาย หากทำสำเร็จก็จะเกิดความภูมิใจความมั่นใจในตัวเองก็จะตามมา
  • ตั้งเป้าหมายที่สมเหตุสมผลซึ่งจะทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะกระทำ หากตั้งเป้าเกินความจริงจะทำให้เกิดความเครียด หากต้องการประสบความสำเร็จต้องพัฒนาความสามารถเพิ่มแต่ถ้าไม่พยายามก็ไม่ประสบผลสำเร็จความเครียดก็จะเกิดตามมาและในที่สุดก็เลิกไปเอง
  • จัดลำดับความสำคัญ และความเร่งด่วนของงาน งานที่สำคัญอาจจะไม่ใช่งานที่เร่งด่วนก็ได้ ให้ทำงานที่เร่งด่วนก่อน และก็ไปงานที่สำคัญ ขณะทำงานก็อย่ากังวลงานที่ยังไม่ได้ทำ ให้ทำงานที่ยากที่สุดก่อนงานอื่น
  • กระจายงานให้แก่คนที่เหมาะสมโดยแบ่งงานเป็นส่วนแล้วกระจายงานออกไป
  1. การสื่อสาร การสื่อสารจะช่วยลดความขัดแย้ง
  • ใช้เหตุผลในการสื่อสาร การใช้เหตุผลจะทำให้เพื่อนร่วมงานได้เสนอปัญหาและแนวทางแก้ไข คนส่วนให้ต้องการแก้ปัญหาเพื่อสิ่งที่ดีขึ้น การใช้เหตุจะทำให้เพื่อนร่วมงานยอมรับและให้ความร่วมมือ ห้ามใช้ความก้าวร้าว
  • พูดความจริง การพูดความจริงจะมีความเครียดน้อยกว่าการโกหก
  • แก้ไขความขัดแย้ง เมื่อเกิดความขัดแย้งให้จับเข่าแก้ปัญหา และเมื่อได้ข้อสรุปจงลืมว่าปัญหาเกิดจากใคร และอย่าเครียดแค้น
  • ให้เป็นนักฟังที่ดี ไม่มีใครที่สามารถเรียนรู้ขณะที่ตัวเองกำลังพูด การเป็นผู้ฟังที่ดีจะได้แนวความคิดใหม่ การเป็นผู้ฟังที่ดีมิใช่คุณจะต้องเชื่อทุกอย่างเป็นเพียงคุณมีข้อมูลเพิ่มเติมซึ่งช่วยในการตัดสินใจ
  1. การเปลี่ยนมุมมองคนบางคนมองวิกฤติเป็นโอกาส น้ำครึ่งแก้วบางคนมองเหลืออีกครึ่งหนึ่ง
  2. การผักผ่อน การนอนพักผ่อนอย่างพอเพียงวันละ 7-8 ชั่วโมงจะทำให้ลดความวิตกกังวลได้
  3. เมื่อเกิดปัญหาให้ควบคุมอารมณ์ให้สงบ ให้หยุดงานที่ทำอยู่ หายใจเข้าลึกๆ หรือหลีกหนีไปเดิน 15 นาที
  4. ให้นึกถึงผลเสียที่จะเกิด ผลเสียหายอย่างแรงที่อาจจะเกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็นึกถึงโอกาสที่จะไม่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
แก้ไข
แม้ว่าเราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงความเครียด แต่เราสามารถลดโรคที่เกิดจากความเครียดโดย
  1. ปรึกษากับเพื่อน ครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงานจะช่วยท่านมองปัญหาในแง่มุมอื่นๆ ท่านจำเป็นต้องบอกเพื่อนร่วมงานว่าบางสิ่งไม่สามารถทำได้ ต้องรู้จักปฏิเสธ ท่านอาจจะต้องลดงานพิเศษบางอย่างขณะเกิดความเครียด ท่านต้องเคารพตัวเองไม่เอาเปรียบตัวเอง ไม่ทำงานเกินความสามารถตัวเอง ไม่ทำงานจนไม่มีเวลาพักผ่อน การทำงานต้องมีขอบเขตหากมิเช่นนั้นท่านอาจจะเป็นผู้ปกครองที่ไม่ดี เป็นเพื่อนร่วมงานที่ไม่ดี ต้องสามารถควบคุมอารมณ์โกรธได้ดี เมื่อโกรธก็หาสิ่งที่ชอบทำเช่นการฟังเพลง การเดิน
  2. อย่าซึมเศร้า เมื่อท่านมีโรคประจำตัวหรือประสบกับความผิดหวัง ท่านอาจจะหมดกำลังใจ ซึมเศร้า ชีวิตนี้ไม่มีความหวังอีกแล้ว อาการซึมเศร้าจะทำให้ท่านประสบกับความทุกข์ยากและทำให้อาการเจ็บปวดเพิ่มขึ้น ท่านอาจจะคิดว่า "ทำไมต้องเป็นเรา" "ทำไมเราถึงต้องทำสิ่งนั้น" "ทำไมเราทำสิ่งนั้นไม่ได้"คนปกติทุกคนจะคิดเหมือนกัน ท่านต้องทำใจและพยายามแก้ไข
  3. ทำชีวิตให้สบายๆอย่าทำชีวิตให้วุ่นวาย ทำตัวสบายๆงานที่ไม่สำคัญก็ไม่ต้องทำเลือกงานที่จำเป็นไม่ว่าจะเป็นงานบ้านหรืองานประจำทำให้เสร็จแล้วจึงเลือกงานที่น่าเบื่อทำต่อ
  4. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้น ให้พยายามทำในสิ่งที่ตัวเองชอบและมีความสุข
  5. บริหารเวลาให้เหมาะสม จัดลำดับความสำคัญของงานให้ทำงานที่หนักเมื่อรู้สึกสบายหรือทำในตอนเช้า จัดเวลาสำหรับพักด้วย
  6. ให้ทำงานที่ละอย่างจนสำเร็จโดยการตั้งเป้าหมายในแต่ละวัน การตั้งเป้าหมายไม่จำเป็นต้องเป็นงานอาจจะเป็นงานอดิเรกก็ได้เมื่อได้กระทำสำเร็จจะเกิดความภูมิใจ
  7. เมื่อไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ปรึกษาแพทย์
ยอมรับความจริง
  • ยอมรับความจริงว่าท่านสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้แต่ท่านไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคนอื่น เพราะหากท่านคิดเปลี่ยนแปลงคนอื่นแล้วไม่สำเร็จท่านก็จะเกิดความเครียด
  • ยอมรับความจริงว่าคนทุกคนไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบต้องมีข้อบกพร่องยอมรับกับข้อบกพร่องความเครียดจะน้อยลง หลายคนคาดหวังว่าคนใช้จะสามารถทำงานได้ดีเท่ากับที่ตัวเองทำ เมื่อคนใช้ทำไม่ได้ก็เกิดความเครียด
  • สร้างอารมณ์ขันให้กับตัวเองโดยเฉพาะเมื่อเวลาเกิดความเครียด ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเครียดแนะนำให้หัวเราะเมื่อมีความเครียด โดยจัดเวลาสำหรับงานบันเทิง คุยเรื่องตลกกับเพื่อนหรือดูตลก การหัวเราะจะช่วยลดความตึงเครียดได้เป็นอย่างดี อย่าปล่อยให้ตัวท่านตึงเครียดมืดมน มองโลกในแง่ดี
  • ให้นึกว่าท่านสามารถเรียนรู้บางสิ่งจากเหตุการณ์ทุกอย่าง
หลีกเลี่ยง
  • หลีกเลี่ยงความเครียดเล็กน้อย เช่นรถติดก็ออกจากบ้านให้เช้าขึ้น หลีกเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น
  • หลีกเลี่ยงหรืออยู่ห่างๆบุคคลที่ทำให้ท่านเครียด เช่นแฟนที่ขี้บ่น เจ้านายที่จุกจิก
  • หลีกเลี่ยงการรับผิดชอบงานที่มากเกินไป
  • เมื่อมีความเครียดให้หยุดงานสักพักและหลีกหนีจากสถานการณ์ที่ทำให้คุณเครียด
  • หลีกเลี่ยงการถกเถียงประเด็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้หรือประเด็นที่หาข้อสรุปไม่ได้
การปรับเปลี่ยน
เป็นการปรับเปลี่ยนขบวนความคิดและการปฏิบัติตนเพื่ออนาคตที่ดีกว่า
  • ปรับเปลี่ยนวิธีคิด มองโลกในแง่ดีเสมอไม่พยายามมองโลกในแง่ร้าย ทุกปัญหามีทางออก เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส โลกมี่ทั้งกลางวันและกลางคืน หาหนทางที่จะพลิกสถานการณ์
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รู้จักปฏิเสธในส่วนไม่ใช่ความรับผิดชอบของตัวเอง ลดความรีบร้อน หัดทำงานให้เสร็จที่ละอย่าง หัดกระจายงานสู่ผู้อื่น หางานอดิเรกทำที่ทำให้หายเบื่อ
  • ปรับเปลี่ยนสภาพทำงาน ปรึกษากันเพื่อลดข้อขัดแย้งในการทำงาน กำหนดความรับผิดชอบของแต่ละคน กำหนดเจ้านายให้แน่นอน กำหนดกฎเกณฑ์ที่เอื้อต่อการทำงาน มีระบบให้คำปรึกษาเรื่องความเครียด
  • ปรับเปลี่ยนความรู้สึกของตัวเอง หัดสร้างอารมณ์ขันในภาวะที่เครียด ยอมรับคำตำนิ รู้จักผ่อนคลายเครียด






........................
บทความจาก...
http://www.siamhealth.net


ส่องกล้องมองคำว่า"ทุกข์"

"ปัญหาหรือความทุกข์ทางกายนี้เป็นส่วนหนึ่ง แต่ส่งที่น่าจะสังเกตได้ก็คือว่า ส่วนใจมันพลอยไปกับกายมากน้อยแค่ไหน ทั้งที่ส่วนใจก็มีความทุกข์ทางใจอยู่แล้ว คือความเศร้าโศก ความคับแค้นใจ ซึ่งส่วนของจิตใจนี้อาจจะเกิดขึ้นเพราะความทุกข์ทางกายทำให้เกิด หรืออาจเกิดแม้ความทุกข์ทางกายไม่มีก็ได้

"นับเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนในสาเหตุ และสาเหตุเหล่านี้ทางพฤติกรรมสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเกิดขึ้นมาอย่างไร แล้วก็รู้หนทางที่จะบรรเทามันลงไป"

ในบรรดาความทุกข์ที่แบ่งออกเป็นทางกายและทางใจนั้น อ.ระวีบอกว่า

"ความทุกข์ทางใจเกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น แล้วเราจะพบว่ามนุษย์ได้สร้างกลไกขึ้นทั้งในตัวเองและสังคม ทำให้เกิดความกดดันและความทุกข์ทางใจขึ้น โดยคนส่วนใหญ่อาจจะมองข้ามไป หรืออาจจะมองไม่เห็น มันก็กลายเป็นปัญหาหรือเป็นทุกข์ ความทุกข์ทางใจเหล่านี้เป็นสิ่งที่การอบรมและการฝึกฝนใจสามารถทำให้มันระงับไปได้"

ความทุกข์ทางใจเกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น-เป็นประเด็นที่ควรให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นวันหนึ่งๆ คนเราทุกข์ทางใจไปโดยสิ้นเปลืองไม่ใช่น้อย

บอกแค่นี้คงไม่ทำให้คิ้วที่ขมวดอยู่คลายออกไปได้ ต้องรับรู้การแจกแจงปฏิบัติการของสิ่งที่เรียกว่าทุกข์เสียก่อน

ทุกข์กาย-ทุกข์ใจแน่

กายไม่ทุกข์-ใจทุกข์ไปล่วงหน้า

"ตัวอย่างความพัวพันระหว่างทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจที่อาจจะได้พบกันในชีวิตประจำวัน สมมุติว่าเราเป็นเด็กไม่สบายแล้วไปหาหมอ หมอบอกว่าเราเป็นไข้หวัด ต้องฉีดยา ถ้าเด็กคนนั้นเคยฉีดยามาหนหนึ่งแล้ว พอบอกต้องฉีดยาอีกมันเกิดทุกข์ขึ้นมาทันที ความทุกข์ที่ได้รับฟังว่าต้องเอาเข็มมาแทงลงไปในเนื้อ ในขณะนั้นทุกข์ทางกายยังไม่ได้เกิด แต่ทุกข์ทางใจเกิดขึ้นแล้ว อาจจะเริ่มมีอาการเป็นทุกข์ เริ่มน้ำตาคลอ พอหมอเอาเข็มฉีดยาดูดยาออกมาจากหลอดก็เริ่มจะมีความทุกข์ทางกายบ้าง แต่ไม่เจ็บ น้ำตาไหลได้

"เราเป็นผู้ใหญ่รู้สึกแต่คงไม่ถึงกับน้ำตาไหล เห็นหมอทำอย่างนั้นเราก็เริ่มรู้สึก หมอเอาเข็มฉีดยามาบีบยาให้ยามันไล่ แล้วก็เอามาจรดลง แล้วลองนึกทบทวนดูว่าเรารู้สึกอย่างไร จะรู้สึกไม่สบายใจ หมอเริ่มกดเข็ม บางครั้งเราก็มอง บางครั้งเราก็ไม่อยากมอง ลองมองดูและลองพิจารณาดูตอนที่เข็มมันจรด ความทุกข์ทางกายยังไม่เกิดขึ้น แต่เรามีความไม่สบายใจ พอหมอกดเข็มเข้าไปในเนื้อเรา นึกว่าเราเจ็บ แต่ที่จริงถ้าเราเพ่งใจลงไปในขณะเข็มกดลงไปในเนื้อ จะพบว่ามันยังไม่เจ็บ ความทุกข์ทางกายยังไม่มี แต่เมื่อเข็มมันลงไปลึกพอประมาณแล้ว และเมื่อหมอเริ่มกดยาเข้าไป ความเจ็บมันจะมี

"ถ้ามีสติอยู่กับปัจจุบัน เจ็บที่แล้วไปอย่าไปนึกถึงมันอีก เจ็บที่กำลังเจ็บดูมัน เจ็บที่ยังไม่มา อย่าเพิ่งไปเจ็บก่อน เราจะพบว่าความเจ็บได้เป็นทุกข์ก้อนใหญ่ที่เราจะต้องแบกไว้ แต่ความเจ็บนั้นมันเป็นชั่วขณะๆ พอหมอถอนเข็มออกแล้วขยี้ตอนนั้นเราจะเจ็บมากชั่วขณะ แล้วก็จะชา แต่ถ้าเราไม่ทำอย่างนั้นจะรู้สึกว่าความเจ็บจริงๆ กับความที่ใจเราเป็นทุกข์มันปนเปกันไปหมด ไม่รู้ส่วนไหนเป็นทุกข์ทางกาย ส่วนไหนเป็นทุกข์ทางใจ

"ถ้าเป็นเด็ก เด็กจะร้องก่อนเข็มจะถูก เมื่อถูกเข็มแทงก็ร้องลั่น พอหมอถอนเข็มออกก็ยังร้องอยู่ เพราะโกรธหมอ นี่คือตัวอย่างที่ยกขึ้นมาเพื่อให้เห็นกลไกของสิ่งที่เรียกว่าความทุกข์"

"ความทุกข์ทั้งหลายที่เป็นความทุกข์ทางใจนี้ เป็นเพราะว่าเรามองดูปรากฏการณ์ในชีวิตด้วยความไม่ชัดเจน ทำอย่างไรจะเห็นสภาวะชัดเจน ทำอย่างไรจะรู้ทัน"
โจทย์นี้หาคำตอบได้ไม่ยาก!

**********คอลัมน์ ร้อยเหลี่ยมพันมุม

โดย วีณา โดมพนานคร
มติชนรายวัน วันอาทิตย์ ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10487

http://www.dhammajak.net/dhamma/31.html
"ความทุกข์ทั้งหลายที่เป็นความทุกข์ทางใจนี้ เป็นเพราะว่าเรามองดูปรากฏการณ์ในชีวิตด้วยความไม่ชัดเจน"  "ยังไม่สนใจธรรมะ เพราะชีวิตยังไม่มีทุกข์"
คนจำนวนมากคิดเช่นนี้ เพราะคำว่า "ทุกข์" นั้นฟังดูเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสในชีวิต ทั้งที่ความจริงแล้ว ความหมายของคำนี้ในธรรมะของพุทธศาสนามีความละเอียดอ่อนยิ่งนัก หากศึกษาจริงๆ แล้วจะรู้สึกทึ่งและอัศจรรย์ใจในอัจฉริยภาพของตัวผู้ค้นพบยิ่งนัก  จะรู้สึกอย่างไรหากบอกว่าในทุกๆ จังหวะและท่วงทำนองของการดำเนินชีวิตมีทุกข์แฝงอยู่ทุกขณะ
ไม่รู้จัก-อย่ารีบบอกว่าไม่มี
อย่าเพิ่งเถียงถ้ายังไม่ได้คำอธิบายในเรื่องนี้ของ ดร.ระวี ภาวิไล ที่ส่องกล้องมองดูคำว่าทุกข์ได้ละเอียดไม่แพ้การส่องกล้องดูดาวบนท้องฟ้าเลย   "คำว่าปัญหากับความทุกข์ในทางพระพุทธศาสนาใช้แทนกันได้ คำว่าปัญหาเป็นคำสมัยใหม่ เราจะพิจารณาได้ว่าสิ่งที่เราเรียกว่าปัญหานี้คือ ความทุกข์นั่นเอง แต่เวลาพูดความทุกข์จะดูเหมือนหนัก พูดคำว่าปัญหาเป็นเรื่องทันสมัย แล้วเราจะพบว่าสิ่งที่เราต้องแก้ก็คือ ความไม่สะดวกสบายที่ทนได้ยากนั่นเอง   "ตามที่บอกว่าชีวิตเป็นความทุกข์เป็นปัญหานั้น ไม่ใช่ว่าการกล่าวเช่นนั้นเป็นการมองโลกในแง่ร้าย แต่เป็นการกล่าวถึงสภาวะที่เป็นจริงในชีวิตของเรา"

ไม่เชื่อลองฟังต่อไปได้

"นับตั้งแต่เรารู้สึกตัวลืมตาขึ้นวันหนึ่งๆ จะพบปัญหาที่ต้องแก้ถัดกันไป แก้ปัญหานั้นปัญหาใหม่ก็เข้ามาเรื่อย ถ้าจะสังเกตตั้งแต่เช้า ปัญหาทำอย่างไรเราจะมาถึงที่ทำงานได้โดยเรียบร้อย แม้เมื่อถึงที่ทำงานเราจะพบปัญหารออยู่บนโต๊ะ จะต้องแก้อันนั้นอันนี้เรื่อยไป ชีวิตก็จะเป็นอย่างนี้